การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

13 พ.ค. 63

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

(Conservation of Natural Resources)

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาต  หมายถึง

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาด โดยใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นระยะเวลานานที่สุด และต้องสงวนรักษาไว้ไม่ให้มีการใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย

การอนุรักษ์จึง หมายถึง การควบคุมและจัดการทรัพยากรอย่างระมัดระวังเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ดังนั้นการอนุรักษ์จึงเป็นการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมด้วย

หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรโดยทั่วไป

ในการอนุรักษ์ทรัพยากรโดยทั่วไปจะต้องคำนึงถึง

วัตถุประสงค์ 2 ประการ

1. ให้เกิดสวัสดิภาพแก่สังคม (Human welfare)

2. ให้คงไว้ซึ่งคุณภาพและปริมาณของทรัพยากรธรรมชาติ (Maintainance of The quantity and quality of natural resources)

มาตรฐานในการอนุรักษ์ทรัพยากรโดยทั่วไป

1. มาตรการในการอนุรักษ์ทรัพยากร

โดยตรง

1.1 การถนอม(Presenvation) หมายถึง การถนอม

ทรัพยากรให้สามารถใช้ไปได้นาน เช่น การสร้างเขื่อนหรือฝายสำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง การเก็บรักษาสัตว์น้ำด้วยการแช่แข็งการประกาศเขตป่าสงวน หรือเขตการรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อการคงอยู่ของป่าไม้ และสัตว์ป่า เป็นต้น

     1.2 การบูรณะ(Restoration) หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรเสื่อมคุณภาพให้มีสภาพดีขึ้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น การบูรณะวัด การกำจัดน้ำเสีย การแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม

1.3 การปรับปรุง(Benificiation) หมายถึง การปรับปรุงทรัพยากรที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือใช้ประโยชน์ได้น้อยให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นกว่าเดิม เช่น การปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยว หรือดินเค็มให้สามารถเพาะปลูกได้หรือให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

1.4 การผลิตและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Production and Use) เช่น นำเอาชานอ้อยหรือเศษไม้

มาทำไม้อัด

1.5 การนำกลับมาใช้ใหม่ (re-use) เป็นการนำทรัพยากรที่ใช้แล้วมาดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น

1.6 การใช้สิ่งทดแทน(Substitution) หลักการโดยทั่วไปจะใช้ทรัพยากรที่มีมากหาได้ง่ายแทนทรัพยากรที่มีน้อยหรือมีจำกัด เช่น ใช้วัสดุอื่นแทนไม้  ใช้ Plastic แทนเหล็ก เป็นต้น

1.7 ตรวจสอบและการประดิษฐ์ (Inventories and Investigations) โดยการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เพื่อตรวจสอบคุณภาพและปริมาณ แหล่งกำเนิดตลอดจนคุณสมบัติและ ความสำคัญของทรัพยากรแต่ละอย่าง เพื่อจะได้วางแผนการใช้ได้อย่างถูกต้องรัดกุมเช่นการสำรวจแหล่งและปริมาณ  Petroleum,Potash,etc.

2. มาตรการอนุรักษ์ทางสังคม

การอนุรักษ์ทรัพยากรมิใช่เป็นเพียงความรับผิดชอบของรัฐบาลแต่ละประเทศเท่านั้นประชาชนทุกคนจะต้องมีความตระหนัก(Awareness) ถึงความรับผิดชอบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การอนุรักษ์เป็นไปตามประสงค์ ในแต่ละประเทศจึงมีแนวปฏิบัติหรือมาตรการอนุรักษ์ทางสังคมเข้าเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรโดยตรงอีกทางหนึ่ง ดังนี้

2.1 จัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ เช่น การจัดตั้งสมาคมนิยมไพร ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นต้น

2.2 ให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม แก่ประชาชนทุกระดับ เพื่อให้รู้จักวิธีการอนุรักษ์ และรู้จักหวงแหนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

2.3 การออกกฎหมายควบคุมดูแลหรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2.4 การใช้สื่อประเภทต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ Internet โดยนำความรู้ด้านการอนุรักษ์เผยแพร่ให้กับประชาชน เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับทรัพยากร

2.5 ส่งเสริมการฝึกอบรมและการวิจัย  ด้านการประดิษฐ์ ด้านระบบนิเวศน์ และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม