สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

3.1  ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลสำโรงมีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบสูง  มีลำห้วยสำคัญ  1  สาย  คือ  ลำห้วยลำเชียงไกร  พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำเกษตรกรรมแบบอาศัยน้ำฝน  ลักษณะดินเป็นดินเค็ม  ในฤดูแล้งจะขาดน้ำและน้ำในลำห้วยจะเค็ม  องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง  มีพื้นที่ทั้งหมด  31,670  ไร่  หรือประมาณ  50.85  ตารางกิโลเมตร  มีหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ  อบต. สำโรง   มีจำนวน  17  หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1                  บ้านนารายณ์
หมู่ที่ 2                  บ้านสำโรง
หมู่ที่ 3                  บ้านสระพัง
หมู่ที่ 4                  บ้านดอนงิ้ว
หมู่ที่ 5                  บ้านแปรง
หมู่ที่ 6                  บ้านหนองอุโลก
หมู่ที่ 7                  บ้านตะคร้อ
หมู่ที่ 8                  บ้านทรงธรรม
หมู่ที่ 9                  บ้านหนองกราด
หมู่ที่ 10                 บ้านหนองประดู่
หมู่ที่ 11                 บ้านโพธิ์
หมู่ที่ 12                 บ้านดอนขี้เหล็ก
หมู่ที่ 13                 บ้านตูม
หมู่ที่ 14                 บ้านโคกตะแบง
หมู่ที่ 15                 บ้านนารายณ์เหนือ
หมู่ที่ 16                 บ้านมอดินแดง
หมู่ที่ 17                 บ้านโคกมงคล

3.2  ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น  6,850  คน  แยกเป็นชาย 3,360  คน  หญิง  3,490 คน มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย  135   คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนหลังคาเรือน 2,269 หลัง

หมู่ที่ บ้าน   จำนวนประชากร   จำนวนครัวเรือน
    ชาย หญิง รวม  
1 บ้านนารายณ์ 210 225 435 168
2 บ้านสำโรง 333 338 671 265
3 บ้านสระพัง 157 154 311 86
4 บ้านดอนงิ้ว 135 141 276 89
5 บ้านแปรง 92 118 210 71
6 บ้านหนองอุโลก 94 94 188 68
7 บ้านตะคร้อ 226 242 468 130
8 บ้านทรงธรรม 322 307 629 207
9 บ้านหนองกราด 156 154 310 121
10 บ้านหนองประดู่ 337 350 687 217
11 บ้านโพธิ์ 160 169 329 104
12 บ้านดอนขี้เหล็ก 182 188 370 114
13 บ้านตูม 219 211 430 155
14 บ้านโคกตะแบง 172 173 345 98
15 บ้านนารายณ์เหนือ 224 269 493 153
16 บ้านมอดินแดง 115 115 230 65
17 บ้านโคกมงคล 226 242 468 158
  รวม 3,360 3,490 6,850 2,269

(หมายเหตุ ข้อมูลจากสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย  ณ  ตุลาคม  พ.ศ. 2567)

3.3  อาชีพ
ประชากรของตำบลสำโรงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก  เช่น  ปลูกข้าว  ปลูกมันสำปะหลัง  ปลูกข้าวโพด  เลี้ยงสัตว์ (วัว, ควาย, แพะ) เป็นต้น

3.4 สภาพทางสังคม

การศึกษา   

–  โรงเรียนประถมศึกษา

   – โรงเรียนบ้านนารายณ์

   – โรงเรียนบ้านสำโรง

   – โรงเรียนบ้านทรงธรรม

   – โรงเรียนบ้านหนองประดู่

จำนวน          4            แห่ง

–  โรงเรียนมัธยมศึกษา

   – โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ 2

จำนวน          1            แห่ง

–  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

   – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนารายณ์

   – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำโรง

   – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองประดู่

จำนวน          3            แห่ง
ศาสนา   

–  วัด/สำนักสงฆ์

   – วัดนารายณ์ บ้านนารายณ์เหนือ ม.15

   – วัดสำโรง บ้านสำโรง ม.2

   – วัดมงคลสุทธาวาส บ้านสระพัง ม.3

   – วัดบ้านแปรง บ้านแปรง ม.5

   – วัดบ้านตะคร้อ บ้านตะคร้อ ม.7

   – วัดทรงธรรม บ้านทรงธรรม ม.8

   – วัดหนองกราด บ้านหนองกราด ม.9

   – วัดมงคลวารี บ้านหนองประดู่ ม.10

   – วัดหนองไผ่ล้อม บ้านดอนขี้เหล็ก ม.12

   – วัดบ้านตูม บ้านตูม ม.13

   – วัดกทลิวัน บ้านโคกตะแบง ม.14

จำนวน          11           แห่ง
สาธารณสุข   

–  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

   – โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรง (รับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.1, 2, 4, 5, 7, 8, 12, 13, 14, 15, 16, 17)

   – โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสระพัง (รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.3, 6, 9, 10, 11)

จำนวน          2           แห่ง
ความปลอดภัย   
–  จุดพักสายตรวจชุมชน (สถานีตำบลภูธรโนนไทย) จำนวน          1           แห่ง
สาธารณูปโภค   

– ระบบน้ำประปาแบบผิวดิน แบ่งเป็น

   – อปท. บริหารจัดการ จำนวน 5 แห่ง

     – ประปาบ้านนารายณ์ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.1, 16)

     – ประปาบ้านสำโรง (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.2, 4, 17)

     – ประปาบ้านแปรง (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.5)

     – ประปาบ้านหนองกราด (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.9)

     – ประปาบ้านดอนขี้เหล็ก (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.12)

   – หมู่บ้าน บริหารจัดการ จำนวน 7 แห่ง

     – ประปาบ้านสระพัง (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.3)

     – ประปาบ้านหนองอุโลก (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.6)

     – ประปาบ้านตะคร้อ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.7)

     – ประปาบ้านทรงธรรม (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.8)

     – ประปาบ้านหนองประดู่ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.10)

     – ประปาบ้านโพธิ์ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.11)

     – ประปาบ้านนารายณ์เหนือ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.13, 15)

จำนวน         17           หมู่บ้าน
แหล่งน้ำ   
   –  ลำห้วยลำเชียงไกร จำนวน           1           สาย
   –  หนอง, คลอง, บึง และอื่นๆ จำนวน          42           แห่ง