ยุทธศาสตร์ของ อปท.
ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง
1. วิสัยทัศน์ “โครงสร้างพื้นฐานดี ไม่มีสิ่งแวดล้อมเป็นมลพิษ เศรษฐกิจพอเพียง การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน”
2. ยุทธศาสตร์
2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการบริหารราชการตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี
2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการเสริมสร้างความสามารถทางเศรษฐกิจ
2.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
3. เป้าประสงค์
3.1 การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็งโดยให้ได้รับบริการสาธารณะโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
3.2 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้ยั่งยืน
3.3 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบล ด้านสาธารณสุข สังคม และวัฒนธรรมให้ดีขึ้น
3.4 ส่งเสริมศักยภาพของหมู่บ้านให้สามารถพี่งตนเองได้
3.5 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
4. ตัวชี้วัด
4.1 ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของประชาชนตามหลักกาารบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
4.2 ประชาชนในตำบลมีรายได้เพิ่มขึ้น
4.3 ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมอย่างทั่วถึง
4.4 ประชาชนมีแหล่งกักเก็บน้ำใช้สำหรับอุปโภค – บริโภค
4.5 ส่งเสริมขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
4.6 สนับสนุนให้มีวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันและการช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ
4.7 ประชาชนได้รับการช่วยเหลือด้านการเฝ้าระวังโรค การป้องกันโรค การควบคุมโรค และการช่วยเหลือประชาชน หรือบรรเทาความเดือดร้อนของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และได้รับการบริการสาธารณสุขอื่นอย่างทั่วถึง
4.8 ประสาน สนับสนุน ร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. กลยุทธ์
5.1 การบริหารจัดการที่ดี และส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
แนวทางที่ 1 พัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการประชาชนและการปฏิบัติงานและพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ในการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรให้พร้อมบริการประชาชน
5.2 การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมการเกษตรและสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5.3 บริการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ 1 การปลูกจิตสำนึกและค่านิยมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความรู้และเข้าใจในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5.4 การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
แนวทางที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยมุ่งสร้างและบูรณาถนน แหล่งน้ำ และสาธารณูปโภคสาธารณูปการ เพื่อความเป็นอยู่ของประชาชน
5.5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการทำนุบำรุงรักษาศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางที่ 1 พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน การศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
แนวทางที่ 2 พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการบริการสาธารณสุขชของหมู่บ้าน การป้องกันและระงับโรคติดต่อ ควบคุม ป้องกันโรคระบาดในพื้นที่
แนวทางที่ 3 พัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส
แนวทางที่ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนงานศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ