สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

3.1  ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลสำโรงมีสภาพทางกายภาพเป็นที่ราบสูง  มีลำห้วยสำคัญ  1  สาย  คือ  ลำห้วยลำเชียงไกร  พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำเกษตรกรรมแบบอาศัยน้ำฝน  ลักษณะดินเป็นดินเค็ม  ในฤดูแล้งจะขาดน้ำและน้ำในลำห้วยจะเค็ม  องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง  มีพื้นที่ทั้งหมด  31,670  ไร่  หรือประมาณ  50.85  ตารางกิโลเมตร  มีหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ  อบต. สำโรง   มีจำนวน  17  หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1                  บ้านนารายณ์
หมู่ที่ 2                  บ้านสำโรง
หมู่ที่ 3                  บ้านสระพัง
หมู่ที่ 4                  บ้านดอนงิ้ว
หมู่ที่ 5                  บ้านแปรง
หมู่ที่ 6                  บ้านหนองอุโลก
หมู่ที่ 7                  บ้านตะคร้อ
หมู่ที่ 8                  บ้านทรงธรรม
หมู่ที่ 9                  บ้านหนองกราด
หมู่ที่ 10                 บ้านหนองประดู่
หมู่ที่ 11                 บ้านโพธิ์
หมู่ที่ 12                 บ้านดอนขี้เหล็ก
หมู่ที่ 13                 บ้านตูม
หมู่ที่ 14                 บ้านโคกตะแบง
หมู่ที่ 15                 บ้านนารายณ์เหนือ
หมู่ที่ 16                 บ้านมอดินแดง
หมู่ที่ 17                 บ้านโคกมงคล

3.2  ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น  6,896  คน  แยกเป็นชาย 3,382  คน  หญิง  3,514 คน มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย  136   คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนหลังคาเรือน 2,190 หลัง

หมู่ที่ บ้าน   จำนวนประชากร   จำนวนครัวเรือน
    ชาย หญิง รวม  
1 บ้านนารายณ์ 210 225 435 160
2 บ้านสำโรง 337 346 683 246
3 บ้านสระพัง 155 152 307 86
4 บ้านดอนงิ้ว 138 142 280 86
5 บ้านแปรง 94 122 216 69
6 บ้านหนองอุโลก 93 96 189 67
7 บ้านตะคร้อ 222 241 463 128
8 บ้านทรงธรรม 323 313 636 203
9 บ้านหนองกราด 155 160 315 120
10 บ้านหนองประดู่ 342 355 697 214
11 บ้านโพธิ์ 163 170 333 101
12 บ้านดอนขี้เหล็ก 186 186 372 112
13 บ้านตูม 222 206 428 149
14 บ้านโคกตะแบง 174 176 350 95
15 บ้านนารายณ์เหนือ 225 266 491 151
16 บ้านมอดินแดง 118 114 232 63
17 บ้านโคกมงคล 225 244 469 140
  รวม 3,382 3,514 6,896 2,190

(หมายเหตุ ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนราษฎรอำเภอโนนไทย  ณ  พฤษภาคม  พ.ศ. 2566)

3.3  อาชีพ
ประชากรของตำบลสำโรงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก  เช่น  ปลูกข้าว  ปลูกมันสำปะหลัง  ปลูกข้าวโพด  เลี้ยงสัตว์ (วัว, ควาย, แพะ) เป็นต้น

3.4 สภาพทางสังคม

การศึกษา   

–  โรงเรียนประถมศึกษา

   – โรงเรียนบ้านนารายณ์

   – โรงเรียนบ้านสำโรง

   – โรงเรียนบ้านทรงธรรม

   – โรงเรียนบ้านหนองประดู่

จำนวน          4            แห่ง

–  โรงเรียนมัธยมศึกษา

   – โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ 2

จำนวน          1            แห่ง

–  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

   – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนารายณ์

   – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำโรง

   – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองประดู่

จำนวน          3            แห่ง
ศาสนา   

–  วัด/สำนักสงฆ์

   – วัดนารายณ์ บ้านนารายณ์เหนือ ม.15

   – วัดสำโรง บ้านสำโรง ม.2

   – วัดมงคลสุทธาวาส บ้านสระพัง ม.3

   – วัดบ้านแปรง บ้านแปรง ม.5

   – วัดบ้านตะคร้อ บ้านตะคร้อ ม.7

   – วัดทรงธรรม บ้านทรงธรรม ม.8

   – วัดหนองกราด บ้านหนองกราด ม.9

   – วัดมงคลวารี บ้านหนองประดู่ ม.10

   – วัดหนองไผ่ล้อม บ้านดอนขี้เหล็ก ม.12

   – วัดบ้านตูม บ้านตูม ม.13

   – วัดกทลิวัน บ้านโคกตะแบง ม.14

จำนวน          11           แห่ง
สาธารณสุข   

–  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

   – โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรง (รับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.1, 2, 4, 5, 7, 8, 12, 13, 14, 15, 16, 17)

   – โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสระพัง (รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ม.3, 6, 9, 10, 11)

จำนวน          2           แห่ง
ความปลอดภัย   
–  จุดพักสายตรวจชุมชน (สถานีตำบลภูธรโนนไทย) จำนวน          1           แห่ง
สาธารณูปโภค   

– ระบบน้ำประปาแบบผิวดิน แบ่งเป็น

   – อปท. บริหารจัดการ จำนวน 5 แห่ง

     – ประปาบ้านนารายณ์ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.1, 16)

     – ประปาบ้านสำโรง (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.2, 4, 17)

     – ประปาบ้านแปรง (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.5)

     – ประปาบ้านหนองกราด (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.9)

     – ประปาบ้านดอนขี้เหล็ก (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.12)

   – หมู่บ้าน บริหารจัดการ จำนวน 7 แห่ง

     – ประปาบ้านสระพัง (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.3)

     – ประปาบ้านหนองอุโลก (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.6)

     – ประปาบ้านตะคร้อ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.7)

     – ประปาบ้านทรงธรรม (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.8)

     – ประปาบ้านหนองประดู่ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.10)

     – ประปาบ้านโพธิ์ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.11)

     – ประปาบ้านนารายณ์เหนือ (หมู่ที่ใช้น้ำ ม.13, 15)

จำนวน         17           หมู่บ้าน
แหล่งน้ำ   
   –  ลำห้วยลำเชียงไกร จำนวน           1           สาย
   –  หนอง, คลอง, บึง และอื่นๆ จำนวน          42           แห่ง